หลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ทั้งที่ได้เตรียมการ และไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะสำหรับบุตรหลานของท่านแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวดูแปลก ใหม่และตื่นตาตื่นใจทั้งสิ้น ดังนั้นการเรียนรู้ของเด็กจึงไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าอะไรเป็นเนื้อหา หรือสิ่งที่ครูจัดเตรียมไว้ แต่เรื่องราวต่าง ๆ ในโรงเรียนคือ การเรียนของพวกเขา
แนวคิดในการจัดการหลักสูตร ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ทางศูนย์มีแนวคิดสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้ ๑. กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก - เด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้จริงที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมของเด็ก - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรมีความหลากหลายที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของ เด็ก ๒. บทบาทเด็ก - เด็กมีโอกาสสัีมผัสลงมือกระทำด้วยตนเอง - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับคุณครู - เด็กมีโอกาสเลือกคิดตัดสินใจในการทำกิจกรรมโดยมีผู้ให้กำลังใจสนับสนุน ๓. บทบาทครู - ครูมีบทบาทเป็นผู้เรียนร่วมกับเด็ก และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ - ครูเสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในการทำกิจกรรมและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง - ครูเฝ้าติดตามสังเกตเด็กสะท้อนข้อมูลจากการสังเกตสู่การวางแผนการสอน และประเมิน ตามสภาพจริง ๔. การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม - บรรยกาศการยอมรับ เข้าใจ และเคารพซึ่งกันและกัน - มีบรรยกาศของการเรียนรู้กระตุ้นให้เด็กมีความคิดอิสระ และสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์สภาพแวดล้อมและสื่อเร้าให้เด็ก สำรวจและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
เป้าหมายของหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของศูนย์ฯ มุ่งเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมด้วยกิจกรรมและสื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสมและสนองต่อเด็กที่มีระดับพัฒนาการแตกต่างกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้ - ส่งเสริมให้เด็กเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ - ส่งเสริมให้เด็กเป็นนักสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ - ส่งเสริมให้เด็กมีความุ่งมั่นกล้าเผชิญ และกล้าแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดบนพื้นฐานของ คุณงามความดี - สร้างเสริมลักษณะนิสัยในชีวิตประจำวันที่ดีงาม - สร้างเสริมบรรยากาศแห่งความร่วมมือและสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน - สร้างเสริมให้ครูและบุคลากรมีึความเอาใจใส่และปฏิบัติต่อเด็กอย่างเข้าใจในธรรมชาติของ เด็ก
กระบวนการจัดการเรียนการสอน จากเป้าหมายของหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยที่เราตั้งใจไว้การจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ยุทธวิธีอันหลากหลาย เื่พื่อให้การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในวิถีชีวิตที่ดำเนินไปในศูนย์ฯ ดังนี้ เรียนรู้ผ่านทักษะชีวิต - ฝึกจิตใจให้มีความสงบเพื่อให้สมองมีพลังความคิดผ่านการทำงาน งานศิลปะ บทกลอน และการเคลื่อนไหว - สร้างพฤติกรรมความเคยชินและลักษณะนิสัยที่ดีงาม ผ่านกิจวัตรประจำวัน - ฝึกช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นอย่างเหมาะสมกับวัย
เรียนรู้ผ่านยุทรวิธีที่หลากหลาย สนุกสนานและท้าทาย - ใช้ประสาืทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจอย่างเฉียบคม - ได้รับการฝึกให้คิดคล่องและลงมือกระทำจนเกิดความชำนาญ - ทำกิจกรรมที่พัฒนาปัญญาและความสามารถอย่างรอบด้าน - บูรณาการทักษะวิชา (ภาษา,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์) ผ่านการลงมือทำ - เรียนรู้ภายในบรรยากาศของการยอมรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมและเห็นคุณค่าของ สิ่งที่เรียนรู้
เรียนรู้ผ่านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ - บรรยากาศที่อบอุ่นเสมือนบ้านที่สะอาด ร่มรื่นด้วยร่มไม้ความเป็นธรรมชาติ เด็กจะได้ ซึมซับความประณีตงดงาม - สภาพแวดล้อมและสื่อที่จัดขึ้นอย่างมีจุดมุ่งหมายให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในและ นอกห้องเรียน
การบริหารงานและการบริหารการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน บริหารโดยคณะกรรมการศูนย์บริการชุมชนคลองจั่นโดยมีประธานอำนวยการศูนย์ฯ และคณะกรรมการบริหารอีก ๑๖ คน การบริหารด้านการศึกษา มีหัวหน้าครูอาสาสมัคร ๑ คนทำหน้าที่ เสมือนครูใหญ่ โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนระดับอนุบาลของกระทรวงการศึกษาธิการ แบ่งเป็นชั้นเรียนดังนี้ ๑. ชั้นเตรียมอนุบาล ๒. ชั้นอนุบาล ๑ ๓. ชั้นอนุบาล ๒ ๔. ชั้นอนุบาล ๓ รับสมัครตั้งแต่ อายุ ๒ขวบครึ่ง -๖ ขวบ เข้าเรียน มีครูประจำชั้นเรียน ๑๐ คน ครูธุรการ ๑ คน แม่บ้าน ๒ คน แม่ครัว ๒ คน และนักการภารโรง-ขับรถ ๑ คน รวม ๑๗ คน ซึ่งเป็นลูกจ้างกึ่งอาสาสมัคร รับเงินเดือนจากทางศูนย์ฯ โดยตรง รับเด็กเข้าเรียน ได้ปีละ ๓๐๐ คน
การบริหารด้านการเงิน เนื่องจากทางศูนย์ฯเป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ต้นแบบของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่การบริหาร ด้านการเงินและหมวดเงินเดือนลูกจ้างไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่ประการใด รายได้จัดเก็บจาก ผู้ปกครองที่พาบุตรหลานมารับบริการ และคณะผู้บริหารศูนย์ฯจัดหาจากการขอรับบริจาค ดังนั้นการบริหารงาน จึงสะดวกรวดเร็ว คล่องตัว และไม่ติดระบบราชการ จนเกินไป
ลักษณะ
"เป็นส่วนราชการ แต่บริหารแบบเอกชน"
|